วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย

สรุปงานวิจัย
ชื่อวิจัย : การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กากมะพร้าว

ผู้วิจัย : วรัญชลี รอตเรือ

ความสำคัญของการวิจัย : เป็นการทำให้ทราบถึงการคิดเชิงเหตุของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมสิลปสร้างสรรค์โดยใช้กากมะพร้าว เพื่อเป็นแนวทางสำหรับครู ผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกาาปฐมวัยที่จะนำไปใช้เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการคิดเชิงเหตุผล ตลอดจนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ให้มีความเหมาะสมกับเด็กปฐมวัยมากยิ่งขึ้น

กลุ่มตัวอย่าง : เด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี ที่กำลังสึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนวัดสะแกงาม สำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 36 คน

สรุปผลการวิจัย : เด็กปฐมวัยหลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กากมะพร้าว มีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล คือ การเปลี่ยนแปลงของการคิดเชิงเหตุผลรายด้านของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กากมะพร้าวเพิ่มขึ้น พบว่า เด็กปฐมวัยมีการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล ด้านอนุกรมเพิ่มขึ้นมากเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือ ด้านการเปรียบเทียบ ด้านการจัดประะเภท และด้านกานหาส่วนที่หายไป ตามลำดับ


เพื่อศึกษางานวิจัยฉบับเต็ม

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 16

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556

- พูดคุยเรื่องเสื้อสูทร
- พูดคุยตกลงเวลาในการไปศึกษาดูงาน กีฬาสีเอก บายเนียร์ ปัจฉิม และนัดสอบปลายภาย สรุปได้ดังนี้
    วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556 สอบปลายภาย
    วันที่ 2 มีนาคม 2556 กีฬาสีเอก เริ่ม 8.30 หรือ 9 โมง    
    วันที่ 3 มีนาคม 2556 ปัจฉิม    
    เย็นวันที่ 5 มีนาคม 2556 ไปดูงานที่ลาว 
- อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ให้เขียนว่าเมื่อเรียนวิชานี้แล้วได้ความรู้อะไร ได้ทักษะอะไร และวิธีการสอนอะไร

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 15

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556
- สอบสอน
หน่วย อวัยวะภายนอก
วันที่ ชนิดของอวัยวะภายนอกร่างกาย
เพลง ตาดูหูฟัง
     เรามีตาไว้ดู          เรามีหูไว้ฟัง
คุณครูท่านสอนท่านสั่ง
เราตั้งใจฟัง               เราตั้งใจดู
- ครูให้เด็กๆบอกว่ารู้จักอวัยวะภายนอกอะไรบ้าง
-  ครูให้เด็กๆดูบัตรภาพ จากนั้นครูถามว่า “อวัยวะที่เด็กในภาพนี้ มีชื่อเรียกว่าอะไร และเด็กๆมีอวัยวะต่างๆ เหมือนกับเด็กในภาพหรือไม่” 
วันที่ ลักษณะของอวัยวะภายนอกร่างกาย
- บอกคุณครูซิค่ะว่า อวัยวะภายนอกมีอะไรบ้าง เด็กๆลองสังเกตเพื่อนๆซิค่ะ ลองจับดูซิค่ะว่าเป็นอย่างไร สีอะไร 
- สรุปโดยใช้แผนภูมิรูปวงกลม เวลาจะพูดเริ่มจากส่วนที่เกมือนกันก่อน แล้วค่อยๆไล่ไปทีละอย่าง
วันที่ 3 หน้าที่ของอวัยวะภายนอกร่างกาย
- ไหนบอกคุณครูซิค่ะว่า........(ชื่ออวัยวะภายนอก)......ลักษณะอย่างไรบ้าง (ทบทวน)
- ร้องเพลงที่เกี่ยวกับหน้าที่ของอวัยวะภายนอก แล้วทบทวนในเพลงว่ามีหน้าที่อะไรบ้าง
- สรุปโดยใช้คำพูดว่า ไหนเด็กๆบอกคุณครูซิค่ะ อวัยวะต่างๆมีหน้าที่อะไรบ้าง 
วันที่ 4 ประโยชน์ของอวัยวะภายนอกร่างกาย
- เนื่องจากประโยชน์เป็นข้อความรู้ ถ้าเรามียืนอ่านให้เด็กฟัง เด็กก็จะจำไม่ได้ แล้วอีกอย่าง จะทำให้เด็กเบื่อการเรียน แต่เราจะนำข้อความรู้นี้ไปใส่ในนิทาน หรือบทบาทสมมติ 
วันที่ 5 วิธีการดูแลรักษาของอวัยวะภายนอกร่างกาย
- mind map การดูแลรักษาอวัยวะภายนอกร่างกาย โดยการพูดคุยกับเด็ก การดูแลรักษานี้ เราจะสอนให้เด็กได้ปฎิบัติจริงก็ได้

วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 14

วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556

- พูดเรื่องศึกษาศาสตร์ทาแลนต์
- เพื่อนสอบสอน 
หน่วย กระดุม
การนำเข้าสู่บทเรียน
    อาจจะใช้ภาพตัดต่อ ร้องเพลงเพื่อให้เด็กหลับตา จากนั้นครูเอาภาพกระดุมที่ไม่สมบูรณ์ มาให้เด็กๆ เมื่อเด็กๆเปิดตาก็ให้เด้กคนที่หนึ่งออกมา แล้วถามเพื่อนๆในห้องว่า ในมือของใครมีภาพที่สามารถต่อภาพนี้ได้สมบูรณืบ้าง แล้วก็ออกมาต่อ จนครบทุกคน แล้วครูก็ถามเด็กๆว่า ภาพที่เด็กๆเห็นคือภาพอะไร รู้จักไหม เคยเห็นที่ไหน ลองดูที่เสื้อผ้าเด็กๆซิค่ะ ว่ามีมั้ย
การสอน
  - เด็กๆรู้จักกระดุมอะไรบ้างค่ะ เมื่อเด็กตอบ ครูก็มีหน้าที่จดบันทึก 
  - เอากระดุมใส่ขวดทึบไว้ แล้วถามว่า เด็กอยากทราบไหมว่าในขวดนี้มีกระดุมเท่าไร เด็กก็จะตอบมา แล้วครูก็บอกว่า งั้นเรามานับกัน 1 2 3 4 5........(เมื่อนับแล้วครูต้องวางเรียงจากขวาของครูไปทางซ้าย) ถ้ากระดุมมันเล็กอาจจะใส่ถุงซิปล็อค การใส่ถุงนั้น ให้เด็กใส่เองก็ได้ เตรียมมา อาจจะเอากระดุมมาน้อยกว่าถุง หรือถุงน้อยกว่ากระดุมก็ได้ แล้วลองถามเด็กๆดูว่า ถ้าใส่ไม่พอ เด็กๆต้องหาถุงเพิ่มอีกเท่าไร หรือต้องหากระดุมเพิ่มอีกเท่าไร
  - วางเรียงเสร็จแล้วก็แทนค่าด้วยตัวเลข หลังจากนั้นก็จัดประเภท คิดเกณฑ์ขึ้นมา 1 เกณฑ์ ซึ่งการทำแบบนี้ เป็นพื้นฐานการบวก และการลบ ดังรูป


พื้นฐานการลบ
พื้นฐานการบวก

เพลงหลับตาเสีย
                                                                (ฐะปะนีย์ นาครทรรพ)
        หลับตาเสียอ่อนเพลียทั้งวัน         นอนหลับฝันเห็นเทวดา
มาร่ายมารำ                                          งามขำโสภา
พอตื่นขึ้นมา                                        เทวดาไม่มี

วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 13

วันอังคารที่ 29 มกราคม 2556

- พูดคุยเรื่องกีฬาสีเอก บายเนียร์ และกิจกรรมอื่นๆ

- คัดเลือกการแสดงความสามารถของเอกปฐมวัยโดยมีการแสดงดังนี้ 
- รำ >>> สว่างจิตร 
- ร้องเพลง >>> รัตติยา
- โฆษณา >>> นิศาชล,ละมัย
- การแสดงลิบซิ้ง >>> จุฑามาศ, นีรชา
- เต้นประกอบเพลง >>> พลอยปภัส,เกตุวดี,มาลินี
- ละครใบ้ >>> อัจฉรา,จันทร์สุดา
- ตลก >>> ชวนชม, ดาราวรรณ
- ผู้กำกับหน้าม้า >>> พวงทอง,นฎา
- หน้าม้า >>> เพื่อนๆที่ไม่มีหน้าที่
- พูดคุยสนทนากันเรื่องการแสดง ว่าสอดคล้องกับคณิตศาสตร์อย่างไร โดยแบ่งเป็นสาระของสสวท.

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

งานวิจัย เรื่องที่ 3

ผู้แต่ง
จินตวี พรมฟอง
ชื่อเรื่อง
การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย = Development of experiences organization plans to prepare mathematics readiness for preschool children
หัวเรื่อง
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา);นักเรียนอนุบาล;โรงเรียน -- ลำปาง
จำนวนหน้า
ก-ซ, 118 แผ่น : ภาพประกอบ, ตาราง
พิมพลักษณ
เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2548
ผู้แต่งร่วม
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย;มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สาขาวิชาประถมศึกษา
โน้ต
วิทยานิพนธ์ (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาประถมศึกษา)) -- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;บรรณานุกรม: แผ่น 68-69
ภาษา
ไทย
ปีการศึกษา
2548

สนใจศึกษาวิจัยเรื่องนี้ คลิกด้านล่างเลยค่ะ

งานวิจัย เรื่องที่ 2

ผู้แต่ง

สายพิณ ใจยวน
ชื่อเรื่อง

การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้วิธีการสอนแบบเล่น-เรียน-สรุป-ฝึกทักษะ = Development of preschool children's mathematic's readiness through play-learn-summarize-practice method
หัวเรื่อง

คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา);นักเรียนอนุบาล;การศึกษาขั้นอนุบาล -- ลำพูน
จำนวนหน้า

, 99 แผ่น : ภาพประกอบ, ตาราง
พิมพลักษณ

เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2549
ผู้แต่งร่วม

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย;มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สาขาวิชาประถมศึกษา
โน้ต

การค้นคว้าแบบอิสระ (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาประถมศึกษา)) -- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;บรรณานุกรม: แผ่น 55
ภาษา

ไทย
ปีการศึกษา

2549

สนใจศึกษาวิจัยเรื่องนี้ คลิกด้านล่างเลยค่ะ

งานวิจัย เรื่องที่ 1

ผู้แต่ง
สมศรี เป็งใจ
ชื่อเรื่อง
การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้การละเล่นพื้นบ้านของไทย = Development of mathematics readiness of pre - school children through Thai Folk Plays
หัวเรื่อง
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา);นักเรียนอนุบาล -- เชียงใหม่;การละเล่น -- เชียงใหม่
จำนวนหน้า
[ก]-ฌ, 112 แผ่น : ภาพประกอบ, ตาราง
พิมพลักษณ
เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2547
ผู้แต่งร่วม
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย;มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สาขาวิชาประถมศึกษา
โน้ต
การค้นคว้าแบบอิสระ (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาประถมศึกษา)) -- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;บรรณานุกรม: แผ่น [70]-73
ภาษา
ไทย
ปีการศึกษา
2547

สนใจศึกษาวิจัยเรื่องนี้ คลิกด้านล่างเลยค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย



สนใจศึกษากรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยของสสวท. 

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 12

วันอังคารที่ 22 มกราคม 2556
- เพื่อนๆ สอบสอน
- การรวมการแยกเป็นพื้นฐานของการบวก การลบ
- มาตรฐาน สสวท.
- เวลาจะติดตัวเลขกำกับค่าของ ให้ติดที่ตัวสุดท้าย เพราะเด็กจะได้รู้ว่า เมื่อนับมาถึงสุดท้ายแล้ว มันจะมีค่าเท่าไร
- การสอน ถ้าสอนเรื่องลักษณะของสิ่งต่างๆ ให้ส่งให้เด็กดม สัมผัส สังเกต
- การสอน ถ้าเป็นเศษส่วน ให้สอดคล้องตรงที่ แบ่งของ เช่น ให้เด็กชิมเค้ก เป็นต้น
- อาจารย์แนะนำสื่อที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์


วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

โทรทัศน์ครู:คณิตศาสตร์ปฐมวัย



เรียนรู้ผ่านการเล่น : พัฒนาการทางคณิตศาสตร์
Learning Through Play : Mathematical Development

ดูวีดีโอ >>>>>คลิกที่นี่<<<<<
คำแนะนำในการประยุกต์ใช้สอน >>>>>คลิกที่นี่<<<<<

วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 11

วันอังคารที่ 15 มกราคม 2556
- เพื่อนออกไปสอนได้ 1 กลุ่ม 
- อาจารย์แนะนำวิธีการสอนที่สอดคล้องกับคณิตศาสตร์ และการพูดในชั้นเรียนที่จะให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 10

วันอังคารที่ 8 มกราคม 2556

- ส่งดอกไม้ 3 ดอก ที่สั่งเมื่อคาบที่ผ่านมา
- พูดคุยเกี่ยวกับเรื่อง มาตรฐานคณิตศาสตร์ของสสวท.

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย

      มาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับ ตรวจสอบ และประเมินผล มาตรฐานการเรียนรู้จัดให้อยู่ภายใต้สาระหลัก ดังนี้
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ 
               มาตรฐานค.ป. 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง      
สาระที่ 2 : การวัด 
               มาตรฐาน ค.ป. 2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา      
สาระที่ 3 : เรขาคณิต 
               มาตรฐาน ค.ป. 3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง 
               มาตรฐาน ค.ป. 3.2 : รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ      
สาระที่ 4 : พีชคณิต 
               มาตรฐาน ค.ป. 4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์      
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
               มาตรฐาน ค.ป. 5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ      
สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ครูควรคอยสอดแทรกทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ตามความเหมาะสมกับระดับอายุ


สนใจศึกษามาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยของสสวท. 

หมายเหตุ : ให้ไปเตรียมตัวสอนในหน่วยของตนเอง เพื่อสอบในคาบต่อไป