วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 8

วันอังคารที่ 25 ธันวาคม 2555


หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาค


วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 7

วันอังคารที่ 18 ธันวาคม 2555


หมายเหตุ: ไม่มีการเรียนการสอน 
เนื่องจากอาจารย์ติดธุระและอาจารย์ได้ให้ทำงานที่มอบหมายไว้ให้

วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 6

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม 2555

- ส่งแผนการจัดประสบการณ์หน่วยของตนเอง
แผนการจัดประสบการณ์ หน่วยบ้าน
- เอากล่องที่สั่งให้เอามา แล้วอ.ถามว่า
       เห็นกล่องแล้วนึกถึงอะไร?
       อยากให้กล่องนี้เป็นอะไร? 
       ใช้ทำอะไร?
    การที่จะถามเด็กนั้น เราควรใช้คำถามที่เด็กรู้สึกไม่กดกัน ไม่กลัวผิด ใช้คำถามที่เด็กได้คิด ได้ตอบตามจินตนาการของ แล้วเด็กก็จะมีความสุขในการตอบ ไม่รู้สึกกลัวว่าจะตอบผิด เด็กจะเชื่อมโยงกับสิ่งที่เคยรู้มา เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้คิด 
- การสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยนั้น ต้องสอนให้ถูกวิธีการเรียนรู้ ตามธรรมชาติของเด็ก ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5

การต่อกล่อง

ครั้งที่ 1
- ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกัน แล้วนำกล่องมาต่อ โดยไม่ปรึกษากัน  ให้ต่อตามจินตนาการของตนเอง แล้วจะได้ผลงานมา 1 ชิ้น หลังจากนั้นก็ถามที่ละคน ว่าตอนที่กำลังจะต่อกล่อง อยากให้เป็นอะไร ซึ่งคำตอบของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับจินตนาการของคนต่อ
ครั้งที่ 2
- ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่ม ต่อกล่องโดยปรึกษากัน ว่าจะต่อเป็นรูปอะไร การต่อกล่องแบบนี้ จะทำให้เด็กเกิดการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักการรอคอย และการต่อกล่องนี้ ยังช่วยเสริมประสบการณ์ทางด้านคณิตศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการแยกประเภทของรูปทรงของกล่อง กานับกล่อง การวัด การจับคู่ เป็นต้น
ครั้งที่ 3
- ให้นักศึกษาทั้งห้อง เอาผลงานของแต่ละกลุ่มมารวมกันเป็นงานชิ้นเดียว และให้นำกล่องหรืออุปกรณ์ต่างๆที่มีอยู่มาประกอบการสร้างชิ้นงาน การต่อกล่องแบบนี้ เป็นการเสริททักษะทางคณิตศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการจัดประเภทของกล่อง การจับคู๋ การวัด รูปทรงและเนื้อที่ เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 5

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม 2555

-อาจารย์ให้ออกไปนำนำเสนองานที่สั่งในสัปดาห์ที่แล้ว (ความเรียง)
หน่วยบ้าน
        วันนี้คุณครูจะมาสอนเด็กๆเรื่องบ้าน คุณครูจะนำภาพบ้านหลังใหญ่มา 1 หลัง ให้เด็กๆช่วยกันนับหน้าต่างของบ้านหลังนี้ว่ามีหน้าต่างทั้งหมดกี่บาน และเด็กๆเห็นบ้านเลขที่หลังนี้ไหมค่ะว่ามีตัวเลขอะไรบ้าง นอกจากตัวเลขแล้วเด็กๆ คิดว่าส่วนประกอบของบ้านมีรูปทรงอะไรบ้าง เมื่อคุณครูและเด็กร่วมกันพูดคุยเรื่องบ้านแล้ว คุณครูแบ่งเด็กเป็นกลุ่มละเท่าๆกัน โดยนำบัตรภาพรูปบ้านชนิดต่างๆมาให้เด็กแต่ละกลุ่ม คุณครูมีภาพบ้านอยู่ในตะกร้าและให้เด็กๆช่วยกันนำภาพตึกแถวออกมาวางบนโต๊ะและให้เด็กๆจับคู่ภาพตึกแถวที่มีสีเหมือนกัน จากนั้นคุณครูหยิบภาพบ้านที่อยู่ในตะกร้ามา 2 ภาพ ซึ่งมีขนาดแตกต่างกันให้เด็กๆสังเกตว่าภาพบ้านหลังไหนมีขนาดเล็กกว่ากัน ต่อจากนั้นครูนำภาพบ้าน 2 หลังมาติดบนกระดานให้มีระยะห่างกันโดยให้เด็กวัดความยาวจากการใช้นิ้วมือว่ามีความยาวเท่าไร คุณครูมีกิจกรรมให้เด็กๆวาดภาพต่อเติมภาพบ้านที่หายไปตามจิตนาการของเด็กๆและระบายสีให้สวยงาม

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 4

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน 2555

- อาจารย์แจกกระดาษ A4 คนละแผ่นและให้นักศึกษาเขียน Mind Map ในหน่วยของตนเอง

-อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอในหน่วยที่ตนเองได้รับมอบหมายและอาจารย์ก็ให้ข้อเสนอแนะในแต่ละกลุ่ม

หน่วยบ้าน
- การนับ => บ้านหลังนี้มีหน้าต่างกี่บาน
- ตัวเลข => บ้านหลังนี้มีบ้านเลขที่ 417
- การจับคู่ => เด็กๆจับคู่บ้านตึกแถวที่มีสีเดียวกัน
- การจัดประเภท => คุณครูมีภาพบ้านอยู่ในตะกร้า ให้เด็กๆนำภาพที่เป็นตึกแถวมาวางบนโต๊ะ
- การเปรียบเทียบ => คุณครูมีภาพ 2 ภาพ ให้เด็กๆเปรียบเทียบระหว่างกับภาพที่ 1 กับภาพที่ 2 ภาพไหนเล็กกว่ากัน
- การจัดลำดับ => ตอนเช้าฉันทำความสะอาดห้องน้ำ หลังจากนั้นตอนบ่ายฉันไปล้างจานในครัว
- รูปทรงและเนื้อที่ => เด็กๆคิดว่าส่วนประกอบของบ้ายมีอะไรบ้าง
- การวัด => คุณครูมีภาพบ้าน 2 ภาพ วางห่างกัน ให้เด็กๆวัดระยะห่างของบ้านทั้ง 2 หลังโดยใช้นิ้ว
- เซต => วันนี้จะมีแขกมาเยี่ยมห้องของเราคุณครูจะให้เด็กๆช่วยกันจัดชุดกาแฟ 2 ชุด
- เศษส่วน => ฉันปลูกบ้านตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยแบ่งพื้นที่เป็น 4 ส่วนเท่าๆกัน คือ
ส่วนที่ 1 ปลูกผัก ส่วนที่ 2 เลี้ยงปลา ส่วนที่ 3 เลี้ยงวัว และส่วนที่ 4 ปลูกบ้าน- การทำตามแบบหรือลวดลาย => ให้เด็กๆวาดภาพต่อเติมบ้านที่หายไปให้สมบูรณ์
- การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ => คุณครูแบ่งดินน้ำมันให้คนละก้อนเท่าๆกันโดยให้เด็กๆปั้นรูปบ้านตามจิตนาการของตนเอง


หน่วยนาฬิกา
- การนับ => มีนาฬิกาอยู่ในบ้านกี่เรือน
- ตัวเลข => เลข 9 อยู่ใกล้เลขอะไรในนาฬิกา
- การจับคู่ => นาฬิกาดิจิตอลไปใส่ในกล่องรูปดาว
- เชต => นาฬิกาแขวนผนังและนาฬิกาข้อมือส่วนใหญ่ทำมาจากวัสดุที่ทำมาจากไม้
- เศษส่วน => มีนาฬิกา 10 เรือนแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน
- การทำตามแบบหรืลวดลาย => ให้เด็กวาดรูปนาฬิกาในกรอบสี่เหลี่ยม
- การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้าปริมาณ => เมื่อเวลาผ่านไปทรายในนาฬิกายังเท่าเดิม
หน่วยแมลง
- การเปรียบเทียบ
 => แมลงเต่าทองกับแมลงปอแมลงชนิดไหนมีขนาดเล็กกว่ากัน
- การจัดลำดับ
 => การจัดแมลงที่มีขนาดเล็กไปถึงขนาดใหญ่
- รูปทรงและเนื้อที่
 => แมลงแต่ละชนิดมีรูปทรงอะไรบ้าง
- การวัด
 => ให้เด็กวัดความยาวลำตัวของแมลงโดยใช้นิ้ว
- เซต
 => ให้เด็กๆเตรียมอุปกรณ์ในการจับแมลง
- เศษส่วน
 => มีแมลง 10 ตัวแบ่งออกเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน
- กาารทำตามแบบหรือลวดลาย
 => ให้เด็กสังเกตต่อภาพจิ๊กซอตามตัวอย่าง
หน่วยกุหลาบ
- การนับ
 => ให้เด็กๆช่วยกันนับว่าในช่อกุหลาบมีกุหลาบกี่ดอก

- ตัวเลข => ให้เด็กๆนำตัวเลขฮินดูอารบิกมาติดแทนค่าจำนวนดอกกุหลาบ
- การจับคู่
 => ให้เด็กจับคู่ภาพดอกกุหลาบที่มีจำนวนเท่ากัน
- การเรียงลำดับ
 => ให้เด็กๆเรียงลำดับจากเล็กไปหาใหญ่
- รูปทรง
 => ส่วนประกอบของดอกกุหลาบมีรูปร่างอย่างไร
- การวัด
 => ให้เด็กๆวัดความยาวของกุหลาบโดยการใช้ไม้บรรทัด
- การจัดประเภท
 => ให้เด็กจัดกลุ่มดอกที่มีสีแดง
- เศษส่วน
 => มีดอกกุหลาบทั้งหมด 10 ดอก และให้เด็กๆแบ่งเป็น 2 กองเทาาๆกัน
- กาารทำตามแบบและลวดลาย
 => นำวัสดุที่เป็นดอกกุหลาบมาประกอบให้เป็นดอกกุหลาบ
- การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ
 => นำดอกกุหลาบมาใส่แจกันที่มีความแตกต่างกัน
- เซต
 => เครื่องมือในการปลูกดอกกุหลาบ
- การเปรียบเทียบ
 => ดอกกุหลาบดอกไหนใหญ่กว่ากัน
- เนื้อที่
 => แปลงดอกกุหลาบ 1 แปลงปลูกกุหลาบได้กี่ต้น
หน่วยยานพาหนะ
- การนับ
 => เด็กๆช่วยกันนับล้อรถว่ามีกี่ล้อ
- ตัวเลข
 => ฉันขึ้นรถเมล์สาย 206

- จับคู่ => ให้เด็กๆจับภาพจำนวนหมวกกันน็อคกับตัวเลขฮินดูอารบิก
- การจัดประเภท => ให้เด็กๆหยิบภาพรถที่มีล้อ 2 ล้อมาติดที่ครูกำหนด
- การเปรียบเทียบ
 => เด็กๆคิดว่ารถไฟกับรถเมล์รถชนิดใดมีล้อมากกว่ากัน
- การเรียงลำดับ
 => ในช่วงเช้าฉันทำความสะอาดรถในช่วงบ่ายไปตรวจสภาพรถ
- รูปทรง
 => รถไฟมีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า
- เซต
 => การทำความสะอาดมีอุปกรณ์อะไรบ้าง

- การเปรียบเทียบ => รถมอเตอร์ไซค์วิ่งเร็วกว่าจักยานแต่มีล้อ 2 ล้อเหมือนกัน
หน่วยขนมไทย
- การนับ
 => การนับจำนวนชนิดของขนม
- จำนวน
 => ให้เด็กนำตัวเลขฮินดูอารบิกมาติดตามจำนวนขนมที่อยู่ในถาด
- จับคู่
 => เด็กๆจับคู่ขนมที่เหมือนกัน
- การจัดประเภท
 => ให้เด็กๆแยกขนมที่นิ่มออกมาใส่จาน
- การเปรียบเทียบ
 => ให้เด็กๆเปรียบเทียบขนาดของขนมเล็กใหญ่และนำมาเปรียบเทียบชิ้นไหนใหญ่กว่ากัน
- การจัดลำดับ
 => ให้เด็กๆเรียงชิ้นขนม จากเล็ก-ใหญ่
- รูปทรง
 => ให้เด็กๆหยิบขนมที่มีรูปทรงสี่เหลี่ยม
- เนื้อที่
 => เด็กๆคิดว่าถาด 1 และถาด 2 ถาดไหนใส่ขนมมากกว่ากัน
- เซต
 => เด็กๆคิดว่าอุปกรณ์ในการทำขนมมีอะไรบ้าง
- การทำตามแบบและลวดลาย
 => ให้เด็กๆแต่่งลวดลายตามอิสระ
- เศษส่วน
 => ถ้าเด็กๆมีขนม 4 ชิ้นจะแบ่งขนมให้เท่าๆกันอย่างไร
- การอนุรักษ์และการคงที่ด้านปริมาณ
 => การทำวุ่นใส่แม่พิมพ์คนละรูปแต่ตัวเนื้อวุ้นมีขนาดเท่ากัน
หน่วยกล้วย
- การนับ
 => กล้วยในตะกร้ามีกี่ลูก
- ตัวเลข
 => เด็กๆหยิบเลขฮินดูอารบิกมาติดที่หวีของกล้วย

- จับคู่ => ให้เด็กๆจับคู่กล้วยหอมเล็กกับเล็ก ใหญ่กับใหญ่
- การจัดลำดับ
 => เรียงกล้วยที่มีขนาดเล็กไปหาใหญ่
- รูปทรง
 => ตัดต้นกล้วยที่มีรูปทรงกลมมาทำกระทง
- การวัด
 => ให้เด็กๆวัดผลกล้วยโดยการใช้ไม้บรรทัด
- เซต
 => การจัดเซตอุปกรณ์ในการทำกล้วยบวชชี
- เศษส่วน
 => กล้วย 1 หวี แบ่งครึ่งให้เท่าๆกันและแบ่งให้เด็ก 2 คน
- การทำตามแบบและลวดลาย
 => วาดภาพต่อเติมต้นกล้วยตามที่ครูกำหนด
- การอนุรักษ์และการคงที่ด้านปริมาณ
 => กล้วยฉาบแบ่งใส่ขวดโหล กล้วยกวนแบ่งใส่กล่อง

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 3

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน 2555

- อาจารย์ตรวจงานแต่ละกลุ่มและให้ข้อเสนอแนะในแต่ละกลุ่ม

- เพื่อนออกมาร้องเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

                             เพลงโปเล โปลา

    โปเล โปเล โปเล โปลา           เด็กน้อยยื่น 2 แขนมา
มือซ้ายขวาทำเป็นคลื่นทะเล       ปลาวาฬพ่นน้ำเป็นฝอย
ปลาเล็กปลาน้อยว่ายตาม           ปลาวาฬนับ 1 2 3  ใครว่ายตามปลาวาฬจับตัว


คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับเพลง
- เป็นการนับปากเปล่า
- ซ้าย-ขวา เป็นบอกถึงตำแหน่ง
- เพลงนี้เด็กเล็กๆ จะร้องได้ง่าย



ขอยข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

(เนื้อหาหรือทักษะ นิตยา ประพฤติกิจ.2541:17-19)
1. การนับ (canting) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลข
2. ตัวเลข (number) เป็นการกำกับตัวเลข
3. การจับคู่ (matching) ใช้ทักษะการสังเกต เช่น ภาพเหมือนกัน จับคู่จำนวนกับจำนวน
4. การจัดประเภท (classification) ต้องหาเกณฑ์
5. การเปรียบเทียบ (comparing) ต้องหาฐานที่เหมือนกันก่อนที่จะเปรียบเทียบต้องรู้ค่าก่อน
6. การจัดลำดับ (ordering)
7. รูปทรงและเนื้อที่(shape and space)
8. การวัด (measurement) การหาค่าหรือปริมาณ
9. เซต (set) มีหน้าที่เชื่อมโยง 
10. เศษส่วน (Fraction)
11. การทำตามแบบหรือหรือลวดลาย (patterning)
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ(conservation)

เยาวพา เดชะคุปด์ (2542:87-88) ได้เสนอการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ที่ครูควรศึกษา
 เพื่อจัดประสบการณ์ให้เด็ก ดังนี้
1. การจัดกลุ่มหรือเซต
2. จำนวน 1- 10 การฝึกนับ 1-10 จำนวนคู่จำนวนคี่
3.ระบบจำนวน (number system)
4. ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ
5. คุณสมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม (properties of math)
6. ลำดับที่
7. การวัด (measurement) หาค่าในเชิงปริมาณ
8. รูปทรงเรขาคณิต เป็นพื้นฐานที่อยู่รอบตัวเรา
9.สถิติและกราฟ การหาความสัมพันธ์

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 2

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน 2555

- อาจารย์แจกกระดาษ 4 คน ต่อ 1 แผ่น ให้นักศึกษาวาดภาพอะไรก็ได้ที่ชอบ 1 ภาพพร้อมทั้งเขียนชื่อ-นามสกุล ดังรูป


- ภาษาและคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
- เด็กเมื่อนับ 1 2 3 4 5 6 ถามว่าเท่าไร เด็กจะตอบไม่ได้ว่า 6 ให้นับว่า
         มีอยู่ 1 เพิ่มอีก 1 เป็น 2
         มีอยู่ 2 เพิ่มอีก 1 เป็น 3
         มีอยู่ 3 เพิ่มอีก 1 เป็น 4
         มีอยู่ 4 เพิ่มอีก 1 เป็น 5
         มีอยู่ 5 เพิ่มอีก 1 เป็น 6
- จะติดหรือเขียนอะไรให้เริ่มจากซ้าย ไปขวา เพราะคนเราเขียนจากซ้ายไปขวา
- การสร้างเกณฑ์ควรสร้า้งเกณฑ์เดียว เพื่อให้เด็กคิดวิเคราะห์ได้ ผลไม้เลือกมา 1 เกณฑ์ เช่น ผลไม้ที่มีสีแดง
- อาจารย์ให้ฟังเพลงซ้ายขวา เพลงกบกระโดด เพลงแมลงปอ
- เกมการศึกษามี 8 ประเภท คือ

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 1

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน 2555

- ตกลงกันว่าจะตรวจบล็อกวันไหน ขอสรุปคือ ตรวจวันศุกร์
- ร่วมกันสนทนา คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในความเข้าใจของนักศึกษา (1 ประโยค)
       ความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้
- เขียนใส่กระดาษ การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเดกปฐมวัย ควรรู้อะไรบ้าง